วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 31 ม.ค. - 4 ก.พ. 2554

ตอบ...2
การเหม็นหืนของน้ำมัน
หมายถึง การที่ไขมันมีกลิ่นปกติขณะเก็บ การที่ไขมันจะเหม็นช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษา เราควรเก็บไขมันและน้ำมันไว้ใรที่ที่ปิดมิดชิด การเหม็นหืนของไขมัน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางวเคมี 2 แบบ ดังนี้
การเหม็นหืนเนื่องจากออกซิเจน ในระหว่างที่เก็บ กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จะได้สารเพอร์ออกไซด์ซึ่งมีกลิ่นหืน กรดไขมันมีแขนคู่หลายอันเหม็นหืนเร็วกว่ากรดไขมันที่มีแขนคู่เพียงอันเดียว ในช่วงแรก ปฏิกิริยาการเหม็นหืนจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ในช่วงหลังจะเร็วขึ้น การเติมไฮโดรเจนจะช่วยให้ไขมันเหม็นหืนช้าลงบ้าง น้ำมันพืชเหม็นหืนช้ากว่าน้ำมันสัตว์ ทั้งที่น้ำมันพืชมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวมากกว่า แต่น้ำมันพืชมีปริมาณวิตามินอีที่เป็นสารป้องกันออกซิเจนอยู่แล้วตามธรรมชาติ การเหม็นหืนของน้ำมันป้องกันได้โดยเก็บไขมันในภาชนะที่ทึบแสง อากาศเข้าไม่ได้ และต้องเก็บไว้ในที่เย็น
การเหม็นหืนเนื่องจากน้ำ วิธีนี้เกิดขึ้นน้อยกว่าการเติมออกซิเจน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ นม เมล็ดพืชต่างๆ และอาหารที่แช่เย็นแข็ง การเหม็นหืนในที่นี้เกิดจากโมเลกุลของไขมันไตรกลีเซอไรด์ถูกย่อยด้วยน้ำย่อยไลเปสเมื่อมีน้ำอยู่ด้วย ได้ไขมันโมเลกุลส้นๆที่มีกลิ่นหืน คือ กรดบิวไทริค ไลเปสอยู่ในอาหารที่มีไขมัน ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน การเหม็นหืนจึงเกิดขึ้นเฉพาะในอาหารที่ผ่านความร้อนไม่สูงมาก หรือความร้อนที่ไม่มากพอที่จะทำลายเอนไซม์ การเหม็นหืนจึงป้องกันโดยใช้ความร้อนทำลายเอนไซม์ และระวังอย่าให้มีน้ำปนในไขมัน
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no12/fatpic.html
กระบวนการผลิตน้ำอัดลม
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอย่างแรก คือ น้ำ ซึ่งต้องผ่านกรรมวิธีการทำให้บริสุทธิ์ โดยนำน้ำบาดาลที่เก็บไว้ในถังพักมาผ่านถังกรองทราย เพื่อกำจัดสิ่งแขวนลอยออกไป จากนั้นจะผ่านเรซิน (resin) เพื่อกำจัดอิออน ปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (ph) ให้ได้ประมาณ 6-7 เติมคลอรีนประมาณ 8 ppm (8 ส่วนในล้านส่วน) เพื่อฆ่าเชื้อโรค น้ำบริสุทธิ์ที่ได้นี้จะนำมาใช้ในการเตรียมน้ำเชื่อมโดยต้มกับน้ำตาลทรายที่อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซสเซียส เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง น้ำเชื่อมที่ได้จะมีลักษณะขุ่น จึงต้องมีการฟอกสีและกรองก่อนที่จะทำให้เย็นลงทันทีจนมีอุณหภูมิ 20-25 องศาเซสเซียส จากนั้นนำน้ำเชื่อมที่ได้มาผสมกับหัวน้ำเชื้อ ซึ่งมากมายหลายชนิดแตกต่างออกไปตามชนิดของน้ำอัดลม
ในหัวน้ำเชื้อจะประกอบด้วยสารที่ให้กลิ่น สารให้สี และสารที่ให้รสเปรี้ยว ได้แก่ กรดชนิดต่างๆ น้ำหวานที่ได้จะถูกทำให้เย็นลงก่อนอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อทำให้ก๊าซละลายให้มากขึ้น แล้วจึงทำการปิดฝา
http://www.doctor.or.th/node/3760
วิธีการบ่ม อาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้
                 -
การรมในห้องปิดสนิทด้วยแก๊สเอทธีลีน โดยใช้ความเข้มข้น
0.01 ไมโครลิตรต่อลิตรที่ 20-25 องศา เซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95 เปอร์เซ็นต์ นาน 24 ชั่วโมง วิธีนี้ชลอเวลาในการสุกได้ 3-7 วัน
                 -
การบ่มด้วยแก๊สอะเซทธีลีน หรือถ่านแก๊สที่ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ในอัตรา 50 กรัม ต่อมะม่วง ประมาณ 15 กิโลกรัม โดยต้องระวังอย่าให้ผลมะม่วงสัมผัสกับถ่านแก๊ส ทำการปิดคลุมด้วยผ้าใบ 1-2 คืนก่อนเปิดผ้าใบเพื่อให้มะม่วงเริ่มสุก                  - การจุ่มในสารละลายเอทธีฟอน ความเข้ม 750 มิลลิลิตรต่อลิตร ที่มี 2-chloroethyl phosphonic acid เป็น active ingredient นาน 2-3 นาที แล้วผึ่งให้แห้งเพื่อบ่มสุก ปิดคลุมด้วยผ้าใบ 1 คืน จึงเปิดผ้าคลุมและปล่อยให้มะม่วงบ่มสุกหมายเหตุ : มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองแม้เก็บแก่ แต่หลังจากบ่มถ่านแก๊ส 2 คืน รสชาติจะยังเปรี้ยว จึงต้องรอให้บ่มสุกอีก 3 วัน มะม่วงจึงสุกและมีรสหวานจัดการบ่มมะม่วงเพื่อแปรรูป                   แช่ในสารละลายเอธีฟอน หรือผสมเอธีฟอนในน้ำ แล้วใส่บัวรดมะม่วงที่ใส่ในถังขนาดบรรจุ 5-7 ตัน ปิดด้วยผ้าใบพลาสติก เป็นเวลา 1 คืน ทำการเปิดผ้าใบในวันรุ่งขึ้น และปล่อยมะม่วงไว้อีกประมาณ 24 ชั่วโมง ก่อนทำการแปรรูป หากต้องใช้มะม่วงสุกมากในการแปรรูป อาจต้องเพิ่มระยะเวลาในการบ่มให้นานขึ้น
http://www.pm.ac.th/wbivrj/mango/M07.htm


ตอบ...2

http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem22/indi.htm
ตอบ...4
              ฝนกรด คือ น้ำฝนที่รวมตัวกันกับแก๊สออกไซด์ของvโลหะบางชนิดในอากาศ เกิดเป็นสารละลายที่มีสมบัติเป็นกรด และมีความเป็นกรดอยู่ในช่วง pH = 3-5
               แก๊สออกไซด์ของอโลหะที่ทำให้เกิดฝนกรด ได้แก่
               - แก๊สออกไซด์ของกำมะถัน เช่น แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์   แก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์
               - แก๊สออกไซด์ของไนโตรเจน เช่น แก๊สไดไนโตรเจนไตรออกไซด์   แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์   และแก๊สไดไนโตรเจนเพนตะออกไซค์
               - แก๊สออกไซด์ของคาร์บอน เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ผลกระทบของฝนกรด
- สร้างความเสียหายต่อแหล่งน้ำ พืช สัตว์ป่า และคน
   ถ้า pH ของน้ำในทะเลสาบลดลงต่ำกว่า 5 จะทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนั้นตาย
   ปัจจุบันพบว่าปลาแซลมอนที่เคยมีอยู่จำนวนมาก ในประเทศนอร์เวย์ ลดจำนวนลงมากจนใกล้สูญพันธุ์
   นอกจากนี้ฝนกรดจะทำลายคลอโรฟิลล์ในพืช ทำให้พืชสังเคราะห์แสงไม่ได้ ผลสุดท้ายก็จะตายในที่สุด
   ในมณฑลเสฉวนประเทศจีนพบว่ามีต้นข้าวในนากลายเป็นสีเหลือง และตันสนในพื้นที่ 6000 ไร่
   เหี่ยวเฉา และความเป็นกรดของฝนยังมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนและสัตว์ เช่น แหล่งน้ำที่เคย
   ดื่มเคยใช้เปลี่ยนสภาพเป็นกรด ทำให้มีผลกระทบต่อทางเดินอาหาร และยังมีผลต่อผิวหนังทำให้ระคายเคือง
- สร้างความเสียหายแก่สิ่งมีชีวิต
  ฝนกรดสามารถกัดกร่อนอาคารที่สร้างด้วยหิน โดยเฉพาะหินปูนและหินอ่อน
  และวัสดุที่เป็นเหล็ก ทำให้ผุกร่อนเร็วกว่าปกติ
ตอบ...1

เขียนเป็นปฏิกิริยาได้ดังนี้
เมื่อจุ่มแท่งสังกะสีลงกรดไฮโดรคลอริก จะปรากฎก๊าซไฮโดรเจนขึ้น เนื่องจากกรดไฮโดรคลอริกเิกิดปฏิกิริิยารีดักชันรับอิเล็กตรอน แล้วได้ก๊าซไฮโดรเจน ส่วนโลหะสังกะสีก็จะเกิดการกัดกร่อนลงไปเพราะเกิดปฏิกิิริยาออกซิเดชันสูญเสียอิเล็กตรอนไป
ตอบ...2
 สัญลักษณ์นิวเคลียร์
A
     X
Z
                                            A = เลขมวล = จำนวนโปรตอน + นิวตรอน
                                            X = สัญลักษณ์ของธาตุ
                                            Z = เลขอะตอม = จำนวนโปรตอน
    1. เลขมวล (Mass Number) คือ เลขที่แสดงจำนวนโปรตอนและนิวตรอน
    2. เลขอะตอม (Atomic Number) คือ จำนวนโปรตอนภายในอะตอม

ตอบ...4
1*1   3*2/1   11*2/8/1   19*2/8/8/1   37*2/8/18/8/1

วาเลนซ์อิเล็กตรอน (อังกฤษ:valance electrons) ในทาง วิชาเคมี คือ อิเล็กตรอน ที่อยู่ในวงโคจรของ อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดของอะตอม อิเล็กตรอน เหล่านี้จะมีส่วนร่วมใน ปฏิกิริยาเคมี ด้วย ธาตุที่มีอิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเต็มมักจะไม่ไวต่อปฏิกิริยา ส่วนธาตุที่มี อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเกือบเต็มหรือเกือบว่างเช่นโลหะอะคาไล และ ฮาโลเจน จะมีความไวต่อปฏิกิริยา
ตอบ...3
คุณสมบัติทางเคมี
ดีเกลือฝรั่งใช้ชื่อทางเคมีว่า แมกนีเซียมซัลเฟต Magnesium Sulfate MgSO4 ชื่อสามัญเรียกว่า Epsom Salt หรือ Bitter Salt เหตุเพราะมีรสขมฝาด ไม่ได้เค็มเหมือนเกลืออย่างที่เข้าใจ ลักษณะที่ใช้กันจะเป็นผงผลึกหรือเกล็ดขาว ซึ่งได้มาจากการนำน้ำทะเลมาเคี่ยวจนแห้ง เหลือเป็นเกลือสะตุ แต่ยังมีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นจากอากาศอยู่ ดังนั้น เมื่อวางดีเกลือทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง จะทำให้จับตัวแข็งเป็นก้อน

ตอบ...4
 พันธะไอออนิก คือ พันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก(cation) และไอออนลบ(anion) อันเนื่องมาจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอน จากโลหะให้แก่อโลหะ  โดยทั่วไปแล้วพันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะและอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากว่าโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชัน(ionization energy)ต่ำ แต่อโลหะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน(electron affinity)สูง ดังนั้นโลหะจึงมีแนวโน้มที่จะให้อิเล็กตรอน และอโลหะมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอน

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน
ตอบ...5วัน
การผลิตสารไอโซโทปทางการแพทย์
ลำดับที่
ประเภทของการให้บริการ
1.
สารไอโซโทปปฐมภูมิ (Primary Isotope)
  • สารละลายไอโอดีน – 131 (I-131 Solution)
  • ไอโอดีน-131 แคปซูล ชนิดตรวจวิเคราะห์(I-131 Diagnostic Capsule)
  • ไอโอดีน-131 แคปซูล ชนิดบำบัดรักษา(I-131 Therapeutic Capsule)
  • ฟอสฟอรัส-32 (Phosphorus-32)
2.
สารประกอบสังเคราะห์ไอโซโทป(Labelled Compounds)
  • ไอโอดีน-131 ฮิปปูแรน (I-131 Hippuran)
  • ไอโอดีน-131 เอ็มไอบีจี (ชนิดตรวจวิเคราะห์)
  • ไอโอดีน-131 เอ็มไอบีจีชนิดบำบัดรักษา(I-131 MIBG Therapeutic Dose)
  • ซามาเรียม-153 อีดีทีเอ็มพี (Samarium-153 EDTMP)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น